ดาราศาสตร์ ☼

หลากหลายความรู้กับดวงดาว

Asterism of Zodiac ◄ กลุ่มดาว12ราศี

กลุ่มดาว 12 ราศี  คือ  กลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม ปรากฏอยู่ตามแนวเส้น Ecliptic กลางท้องฟ้า กลุ่มดาว 12 ราศี บางทีเรียกว่า กลุ่มดาว 12 นักษัตร เพราะ 11 กลุ่มเป็นสัตว์จริงหรือสัตว์สมมุติ อีก 1 กลุ่มเป็นสิ่งของคือตาชั่ง กลุ่ม 12 ราศี มีชื่อตามเดือนทั้ง 12 เริ่มนับจากราศีเมษแกะตัวผู้ไปตามลำดับ และ ราศีมีน กลุ่มดาวปลาเป็นราศีสุดท้าย

  ราศีแกะ  ราศีวัว   และคนคู่
  อีกทั้งปู  สิงค์ นางงาม อร่ามสม
  ตาชั่ง  แมงป่อง  ธนู  คูน่าชม 
  มกราคม โถจารี  มีปลาเอย

กลุ่มดาว 12 ราศี (ZODIAC)

การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน การโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์ ทำให้เวลาและฤดูกาลผ่านไป โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ กินเวลา 1 ปี ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันตกไปทาง ทิศตะวันออกนั้น เมื่อเราสังเกตดูการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เราจะเห็น ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามกลุ่มดาวกลุ่มต่าง ๆ กลางท้องฟ้า เส้นทางที่ ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปบนท้องฟ้าผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ในรอบปีหนึ่งนั้น เรียกว่า เส้นอี่คลิพติค (Ecliptic) เส้นนี้พาดจากขอบฟ้าทิศตะวันออก ผ่านกลาง ฟ้าเหนือ ศีรษะไป ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก บรรดาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงนพเคราะห์ ต่างก็เคลื่อนที่ในแนวแถบเส้น Ecliptic นี้ทั้งสิ้น

กลุ่มดาว 12 ราศี คือกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่ปรากฏอยู่ตามแนวเส้น Ecliptic โดยแบ่งแถบเส้น Ecliptic ซึ่งเป็นแถบกว้าง 16 องศา (กว้างวัดจากเส้น Ecliptic ไปข้างละ 8 องศา ) รอบท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนกว้าง 30 องศา ทุกราศีมีดาวฤกษ์ประจำอยู่ 1 กลุ่ม จึงเรียกกลุ่มดาว 12 ราศี เวลาดูในท้องฟ้า จะเห็นกลุ่มดาว 12 ราศีเรียงตามลำดับ จาก ทิศตะวันตก ไปทิศตะวันออก กลุ่มดาว 12 ราศีนี้ เป็นจักรวงกลมของสัตว์ เพราะว่า 11 กลุ่ม เป็นกลุ่มดาวที่ แทนสัตว์จริง หรือสัตว์สมมุติ มีกลุ่มดาวที่ไม่ใช้สัตว์ คือกลุ่มดาวราศีตุลย์หรือ กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra) อันหมายถึงตราชูแห่งความเที่ยงธรรม

เมื่อประมาณ 150 ปีก่อนคริสตศักราช นักดาราศาสตร์ชาติกรีกชื่อ ฮิปปาวัส (Hipparchus) ได้แบ่งกลุ่มดาวแถบเส้น Ecliptic ออกเป็น 12 กลุ่ม โดยตั้งแต่ จากจุด Vernal Equinox ซี่งเป็นจุดตัดจุดแรกของเส้น Ecliptic กับศูนย์สูตร ท้องฟ้า (Celestial Equator) เมื่อนับจากจุด Vernal Equinox ตามแถบแนวเส้น Ecliptic ไปทางทิศตะวันออก ช่องละ 30 องศา จะได้ 12 ช่องพอดี ช่องแรก คือ ราศีที่ 1 คือ ราศีเมษ กลุ่มดาวแกะ ซึ่งกลุ่มดาวกลุ่มนี้ได้ชื่อว่า “ผู้นำแห่งกลุ่มดาว 12 ราศี”  กลุ่มดาวราศีที่ 12 คือ กลุ่มดาวปลา หรือ ราศีมีน
 

เนื่องจากแกนของโลกไม่ได้ชี้ตรงไปที่ดาวเหนือตลอดเวลา การหมุนของโลกมี อาการ ส่าย คล้าย ๆ กับลูกข่าง การส่ายของโลกเป็นผลเนื่องมาจากแรงดึงดูด ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ที่มีต่อโลก ทำให้แกนของโลกส่ายไป ฉะนั้นจึง Vernal Equinox อันเป็นจุดตั้งต้นของกลุ่มดาว 12 ราศี  คือ ในวันที่ 12 มีนาคม ดวงอาทิตย์เริ่มยกเข้าสู่ ราศีเมษนั้น ก็ไม่ตรงกับที่ Hipparchus ได้จัดแบ่งไว้ เพราะฮิปปาชัสไม่ได้คำนึงถึง ความเป็นจริงเรื่องการส่ายของโลก ฉะนั้นใน ปัจจุบันนี้ จึงปรากฏว่ากลุ่มดาว 12 ราศี ไม่ได้ตรงตามที่ได้ตั้งไว้เมื่อ 2,000 ปี ก่อน คือเมื่อ 2,000 ปีก่อน จุดตัดของเส้น Ecliptic กับ Equator ท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า Equinox เริ่มต้นที่ราศีเมษกลุ่มดาวแกะและราศีตุลย์ กลุ่มดาวคันชั่ง แต่ในปัจจุบันผลการส่วยของโลกเราพบว่าจุด Equinox  นั้น  ตั้งตันที่ กลุ่มดาวปลา ราศีมีนและกลุ่มดาวหญิงพรหมจารี ราศีกันย์ (ไม่ได้ตั้งต้นที่ กลุ่มดาวแกะ ราศีเมษและกลุ่มดาวคันชั่ง ราศีตุลย์ ) นั้นก็คือกลุ่มดาว 12 ราศี ปรากฏเคลื่อนที่ ล่วงหน้าไปกว่าความเป็นจริงถึง 30 องศา หมายความง่าย ๆ ว่า ในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดู ใบไม้ผลิ ดวงอาทิตย์เริ่มยกเข้าสู่ ราศีเมษนั้น  ความจริงแล้วดวงอาทิตย์พึ่งจะเข้าสู่ราศีมีน  คือกลุ่มดาวปลา  ดวงอาทิตย์ยังไม่ได้ยกเข้าสู่ราศีเมษ จนกว่าจะถึงปลายเดือนเมษายน ความคลาดเคลื่อนของกลุ่มดาว 12 ราศี ไม่มีความสำคัญ และไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้และเอามาอ้างอิงอะไรสำหรับนักดาราศาสตร์ แต่มีความจริงสิ่งหนึ่ง อยากจะเรียนท่านผู้อ่านทราบไว้ คือ โหราศาสตร์  ซึ่งได้ชื่อว่า วิทยาศาสตร์เทียม (Sham Science ผู้เขียนไม่กล้าแปลว่า วิทยาศาสตร์หลอก ๆ เพราะโหราศาสตร์ เป็นศิลป์และสถิติแต่ไม่มีกฎตายตัวแน่นอน) นักโหราศาสตร์เขาทำนาย เหตุการณ์ และวิถี ชีวิตโดย อาศัยรากฐานมาจากการเคลื่อนที่ของดวงดาว ที่บนท้องฟ้าแถบแนว Ecliptic ซึ่งปรากฏว่า ดวงดาว ทั้งหมายไม่ได้ปรากฏตามที่ นักโหราศาสตร์พูดหรือกะไว้อย่างแท้จริงเลย ผู้เขียนขอฝากข้อคิดสำหรับท่าน ผู้อ่านสักข้อหนึ่งว่า ดาวเคราะห์เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ซึ่งจะต้องโคจรไปตาม วิถีทาง ของมันด้วยระยะเวลาสม่ำเสมอ ฉะนั้นจึงไม่น่าที่ดาวเคราะห์จะมีอิทธิพล เหนือชีวิตมนุษย์ได้เลย

เนื่องจากคนไทยเราถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนขึ้นปีใหม่ (วันที่ 13 เมษายน คือ วันสงกรานต์ นับเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ) วันขึ้นปีใหม่ของไทย ใกล้เคียง กับวันตั้งต้นปีใหม่ของนักดาราศาสตร์ คือวันที่ 21 มีนาคม ในวันที่ 21 มีนาคมนี้ นักโหราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์เริ่มยกเข้าสู่ราศีเมษ คือ ดวงอาทิตย์ปรากฏ โคจรอยู่ใน กลุ่มดาวแกะ แต่ทางนักดาราศาสตร์ถือว่า วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันเริ่ม เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ พืชเริ่มผลิใบ แตกกิ่งก้านสาขา เมล็ดพืชที่หว่านไว้เริ่มงอก เป็นวันตั้งต้นชีวิตใหม่ประจำปี ในวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ ผ่านจุดตัดของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า และ อี่คลิพติค จุดนี้เรียกว่า Vernal Equinox ทุกชาติทุกภาษา ตั้งต้นกลุ่มดาว 12 ราศีเหมือนกันหมด คือให้กลุ่ม ดาวแกะ (ราศีเมษ) เป็นราศีที่ 1 และกลุ่มดาวปลา ราศีมีน เป็นราศีสุดท้าย

ขอให้หลักในการสังเกตหากกลุ่มดาว 12 ราศี กลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ ครั้งแรกต้องหากลุ่มดาว 12 ราศีที่สังเกตเห็นได้ง่าย ๆ เป็นหลักตั้งต้นก่อน เมื่อเห็นกลุ่มดาว 12 ราศีกลุ่มใดแล้ว แบ่งท้องฟ้าขณะนั้นเป็น 6 ส่วน ส่วนละ 30 องศา ถ้านับไปทางทิศตะวันตก 1 ส่วน หรือ 30 องศา จะเป็นกลุ่ม 12 ราศี ที่ผ่านมาแล้ว ถ้านับไปทางทิศตะวันออก 1 ส่วน หรือ 30 องศา จะเป็นกลุ่มดาว 12 ราศี ทีกลุ่มจะถึงต่อไป จำง่าย ๆ ว่า กลุ่มดาว 12 ราศี มีชื่อตามชื่อเดือนทั้ง 12 การนับตั้งต้นนับจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก หมายความว่า ทางทิศตะวันตกของกลุ่มดาวราศีเมษ (แกะตัวผู้) เป็นกลุ่มดาวราศีมีน (ปลา) และทางทิศตะวันออกเป็นราศีพฤษภ (วัว)

ถ้าหากท่านดูดาวในเวลา 3 ทุ่มจะเห็นกลุ่มดาว 12 ราศีอยู่กลางท้องฟ้าตรงศีรษะ ในเดือนต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้ กลุ่มดาววัวในวันที่ 15 มกราคม กลุ่มดาวคนคู่ 20 กุมภาพันธ์ กลุ่มดาวปู ในวันที่ 15 มีนาคม กลุ่มดาวสิงโตในวันที่ 10 เมษายน กลุ่มดาวหญิงพรหมจรรย์ วันที่ 25 พฤษภาคม กลุ่มดาวคันชั่ง ในวันที่ 20 มิถุนายน กลุ่มดาวแมงป่อง ในวันที่ 20 กรกฎาคม กลุ่มดาวคนถือธนู ในวันที่ 20 สิงหาคม กลุ่มดาวแพะทะเล ในวันที่ 20 กันยายน กลุ่มดาวคนถือหม้อน้ำ ในวันที่ 10 ตุลาคม กลุ่มดาวปลาจะอยู่ตรงศีรษะเมื่อเวลา 3 ทุ่ม ในวันที่ 10 พฤศจิกายน

Categories: ดาราศาสตร์ ☼ | 3 ความเห็น

“พลูโต” ไม่ใช่ดาวเคราะแล้ว!!!!

ปลดดาวพลูโตออกจากระบบสุริยะจักรวาล

นักดาราศาสตร์ชั้นนำของโลกพร้อมใจกันปลดดาวพระยม หรือ ดาวพลูโต ออกจากดาวนพเคราะห์ของสุริยะจักรวาลแล้ว จำนวนดาวนพเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลจาก 9 ดวงเหลือเพียง8 ดวง
ที่ประชุมนักดาราศาสตร์ ของสหภาพนักดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ The International Astronomical Union’s (IAU)
ประมาณ 2,500 คน ซึ่งร่วมประชุมกันที่  กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก  ได้มีมติถอนดาวพลูโตออกจากการเป็นดาวบริวารของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาล
โดยอ้างว่า ดาวพลูโต ไม่ได้มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์บริวารอื่นๆ และเตรียมจัดฐานะให้ดาวพลูโต เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ ส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ที่ยอมรับโดยนักดาราศาสตร์นานาชาติ เหลือเพียง 8 ดวงเท่านั้น และจะส่งผลต่อแบบเรียนและฐานข้อมูลทางวิชาการ ที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่า ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์บริวารดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล ทั้งนี้ ดาวพลูโต ถูกค้นพบโดย Clyde Tombaugh ชาวสหรัฐ เมื่อปี 1930   ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง ชื่อ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ และไฮดรา (2 ดวงหลัง ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548)

พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร “P-L” ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก

ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งไคลด์ ทอมบอก์แห่งหอดูดาว โลเวลล์ ในรัฐแอริโซนา  ได้ทำการสำรวจท้องฟ้าและพบดาวพลูโตในที่สุด

ขณะนั้นถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุด เป็นเวลา 76 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2473-2549

หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโต เล็กเกินกว่าที่จะรบกวน วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหาดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษล่าสุดมีการค้นพบ วัตถุที่คล้ายดาวพลูโตมากมาย ในบริเวณเดียวกับดาวพลูโตที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ และดาวพลูโตก็มีลักษณะไม่สอดคล้องกับกำเนิดของดาวเคราะห์อย่าง ดาวเคราะห์ก๊าซ หรือ ดาวเคราะห์หิน นำมาสู่หัวข้อในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก

 วงโคจรของ  ดาวพลูโต


 ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด  :  7,375,927,931 กม.(49.30503287 หน่วยดาราศาสตร์)

ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด  :  4,436,824,613 กม.(29.65834067 หน่วยดาราศาสตร์)

กึ่งแกนเอก  :  5,906,376,272 กม.(39.48168677 หน่วยดาราศาสตร์)

เส้นรอบวงของวงโคจร  :  36.530 เทระเมตร(244.186 หน่วยดาราศาสตร์)

ความเยื้องศูนย์กลาง  :  0.24880766

คาบดาราคติ  :  90,613.3058 วัน(248.09 ปีจูเลียน)

คาบซินอดิก  :  366.74 วัน

อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร  :  4.666 กม./วินาที

อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร  :  6.112 กม./วินาที

อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร  :  3.676 กม./วินาที

ความเอียง  :  17.14175°(11.88° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)

ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น  :  110.30347°

ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด  :  113.76329°

จำนวนดาวบริวาร  :  3

ลักษณะทางกายภาพของ  ดาวพลูโต

เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย  :  2,390 กม. (0.180×โลก)

พื้นที่ผิว  :  1.795×107 กม.² (0.033×โลก)

ปริมาตร  :  7.15×109 กม.³ (0.0066×โลก)

มวล  :  1.25×1022กก. (0.0021×โลก)

ความหนาแน่นเฉลี่ย  :  1.750 กรัม/ซม.³

ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร  :  0.58 เมตร/วินาที² (0.059 จี)

ความเร็วหลุดพ้น  :  1.2 กม./วินาที

คาบการหมุนรอบตัวเอง  :  6.387 วัน (6 ชม. 9 นาที 17.6 วินาที)

ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง  :  47.18 กม./ชม.

ความเอียงของแกน  :  119.61°

ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ  :  313.02° (20 ชม. 52 นาที 5 วินาที)

เดคลิเนชันของขั้วเหนือ  :  9.09°

อัตราส่วนสะท้อน  :  0.30

บรรยากาศของ ดาวพลูโต

 ความดันบรรยากาศที่พื้นผิว  :  0.15-0.30  กิโลปาสกาล

องค์ประกอบ  :  ไนโตรเจน และ มีเทน

Categories: ดาราศาสตร์ ☼ | ใส่ความเห็น

กำเนิดดวงดาว


     ดาวเกิดขึ้นเมื่ออะตอมของธาตุถูกบีบภายใต้ความดันมากพอที่จะทำให้เกิด Nuclear fusion  ดวงดาวทั้งหมดเป็นผลพวงจากการสมดุลพอดีของแรงต่างๆ ซึ่งมีดังนี้

แรงโน้มถ่วงอัดอะตอมใน interstellargas จนกระทั่งปฏิกิริยา fusion เริ่มขึ้น และทันทีที่ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้น มันจะออกแรงดันไปข้างนอก (outwardpressure) ตราบที่แรงดันเข้าภายใน ซึ่งคือแรงโน้มถ่วงเท่ากับแรงดันออกภายนอกที่ได้จากปฏิกิริยา fusionดวงดาวยังคงเสถียรในกาแลกซีของเราและกาแลกซีอื่นๆที่คล้ายของเราต่างก็มีกลุ่มหมอกแก๊ส ซึ่งเราเรียกว่า naebulaenabula อยู่ห่างหลายปีแสง และมีมวลมากพอที่จะทำให้เกิดดาวหลายพันดวงซึ่งอาจมีขนาดเทียบเท่าดวงอาทิตย์ แก๊สส่วนใหญ่ใน nabulae ประกอบด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจน และ ฮีเลียม แต่ nabulae ส่วน ใหญ่ยังประกอบด้วยธาตุอื่นๆ และสารอินทรีย์ที่ซับซ้อน อะตอมหนักๆเหล่านี้เป็นซากที่เหลือจากดาวเก่าๆที่ได้ระเบิดขึ้นในปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า supernova ส่วนที่มาของสารอินทรีย์ยัง คงเร้นลับอยู่ความไม่สม่ำเสมอของความหนาแน่นของแก๊ส ทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่ดึงโมเลกุลของแก๊สเข้าหากันนักดาราศาสตร์บางคนคิด ว่าแรงโน้มถ่วง หรือ การก่อกวนจากสนามแม่เหล็กทำให้ nabulae แตก สลายเมื่อแก๊สเย็นลง มันจะสูญเสียพลังงานศักย์ ซึ่งเป็นผลให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการแตกสลายไปเรื่อยๆอย่างนี้ อุณหภูมิย่อมสูงขึ้น กลุ่มแก๊สหมอกนี้จึงแยกออกเป็นกลุ่มแก๊สหมอกที่เล็กลง ซึ่งผลที่สุดจะกลายเป็นดาวแกนของกลุ่มเมฆล่มได้เร็วกว่าส่วนนอก กลุ่มแก๊สจึงหมุนเร็วขึ้นเพื่ออนุรักษ์โมเมนตัม เมื่อตัวแกนมีอุณหภูมิถึงประมาณ 2000 องศาเคลวิน โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนจะแตกออกเป็นไฮโดรเจนอะตอม ในที่สุดแกนนี้มีอุณหภูมิถึง 10000 องศาเคลวิน และมันเริ่มคล้ายๆดาวดวงหนึ่งเมื่อปฏิกิริยา fusion เริ่มขึ้น เมื่อมันแตกสลายจนถึงขนาด 30 เท่าของดวงอาทิตย์ มันก็มีสภาพเป็นดาวมาขึ้น (prostar)เมื่ออุณหภูมิและความดันในแกนนี้มากเพียงพอที่จะทำให้ Nuclear fusion ดำเนิน ต่อไป แรงดันออกภายนอกจะต้านกับแรงโน้มถ่วง ถึงขั้นนี้ แกนนี้มีขนาดประมาณเกือบเท่าดวงอาทิตย์ พวกฝุ่น ซึ่งเป็นอนุภาคต่างที่ล้อมรอบดาวนี้เริ่มร้อนขึ้น และเปล่งแสงออกมาจ้า ซึ่งอยู่ในย่านอินฟราเรด ณ จุดนี้ แสงที่ตามองเห็นได้จากดาวดวงใหม่นี้ไม่อาจทะลุฝุ่นเล่านั้น ผลที่สุด radiation pressure จากดาวนี้จะเป่าฝุ่นนี้ออกไป และดาวดวงใหม่จึงเริ่มโตขึ้น สมบัติ และ อายุของดาวใหม่นี้ขึ้นกับปริมาณแก๊สที่ยังตกค้างอยู่

Categories: ดาราศาสตร์ ☼ | ใส่ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.